วิสัญญี
(Anaesthesia)
งานด้านวิสัญญี (Anesthesia)
หน้าที่ของวิสัญญีสัตวแพทย์และสัตวพยาบาล
วิสัญญีวิทยาเป็นวิชาที่ต้องประยุกต์ใช้ความรู้กว้างขวางทั้งทางกายวิภาค เภสัชวิทยา สรีรวิทยา และพยาธิวิทยาทั้งยังต้องทราบจุดประสงค์และการรักษาของศัลยสัตวแพทย์ทุกสาขาที่ผ่าตัดสัตว์ป่วย วิสัญญีสัตวแพทย์ต้องเข้าใจว่า แต่ละโรคทำให้เกิดความผิดปกติอะไรบ้าง ต้องผ่าตัดอะไรใช้เวลานานเท่าใด มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเกิดขึ้นกับสัตว์ป่วย ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และหลังการผ่าตัดซึ่งวิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกแก่สัตว์ป่วยที่มารับการผ่าตัดและทำหัตถการที่จำเป็นต้องให้ยาระงับความรู้สึกอย่างมีคุณภาพเพื่อให้สัตว์ป่วยปลอดภัยและไร้ความเจ็บปวด ลดความเสี่ยงได้
การบริการ
1. บริการให้ยาระงับความรู้สึกแก่สัตว์ป่วยที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละสัตว์แต่ละตัวที่มารับการผ่าตัดและทำหัตถการทั้งสัตว์ป่วยนอกและสัตว์ป่วยใน ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน แบ่งเป็น 2 แบบคือ
a. การทำให้หมดสติ (general anesthesia) เป็นแบบที่วิสัญญีสัตวแพทย์ใช้เป็นหลักซึ่งการทำให้หมดสติก็จะใช้ทั้ง 2 แบบคู่กันคือ
i. “ยาดมสลบ” ได้แก่ isoflurane และ sevoflurane ซึ่งทำให้หมดสติอย่างรวดเร็วและลึก จนไม่รู้สึกตัว แต่เมื่อค่อยๆลดยา สัตว์ที่หลับจะค่อยๆ ฟื้นคืนสติกลับมาใหม่โดยไม่มีผลกระทบต่อสมอง ไม่สามารถจำได้ถึงการผ่าตัด
ii. “ยาสลบและระงับความรู้สึกแบบแบบฉีด”
1. ยากลุ่ม premedication และ/หรือ transquilizer เช่น dexmedetomidine acepromazine
2. ยาสลบ เช่น thiopental propofol เป็นต้น
3. ยาระงับปวดต่างๆที่เป็นกลุ่มยาควบคุม วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 3 4 เช่น diazepam midazolam ketamine
4. ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เช่น morphine fentanyl pethidine pentobarbital diazepam
5. ยาอื่นๆ เช่น ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ยาต้านฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ยาตีบหลอดเลือด ยากระตุ้นหัวใจ
b. การให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อทำให้หมดความรู้สึกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (regional anesthesia) และการให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อทำให้หมดความรู้สึกเพียงจุดใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (local anesthesia – การให้ยาชาเฉพาะจุดจะเป็นพื้นที่ๆเล็กกว่าแบบ regional anesthesia) วิสัญญีสัตวแพทย์มักจะใช้ร่วมกับการทำให้หมดสติเพื่อผลการระงับปวดที่ดีที่สุด ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ lidocaine และ bupivacaine
2. ติดตามสัญญาณชีพของสัตว์ป่วยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ขณะให้ยาระงับความรู้สึกและหลังให้ยาระงับความรู้สึก โดยการติดตามค่าต่างๆดังนี้
a. อัตราการเต้นของหัวใจและจังหวะการหายใจ
b. ความดันโลหิต
c. อุณหภูมิของร่างกาย
d. ความลึกของการสลบ
e. ความสมดุลของของเหลว
3. ปฏิบัติการช่วยชีวิตสัตว์ป่วยในภาวะวิกฤต
4. ควบคุมการใช้เครื่องช่วยหายใจทั้งในห้องผ่าตัดและส่วนอื่นของโรงพยาบาลสัตว์